หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

บ้านนาเจริญ
ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน

ข้อมูลทั่วไป

  • บ้านบ้านนาเจริญ หมุ่ที่ 13 ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
  • พื้นทีส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีลำห้วยโมง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักในการเกษตรอยู่ทิศตะวันตกของหมู่บ้าน
  • พื้นที่หมู่บ้านทั้งหมด 3,867 ไร่ แยกเป็น
  • พื้นที่ทำหนา 1,736 ไร่ จำนวนครอบครัวที่ทำนา 51 ครัวเรือน
  • พื้นที่ทำไร่ 234 ไร่ จำนวนครอบครัวที่ทำไร่ 15 ครัวเรือน
  • พื้นที่สาธารณะ 6 ไร่

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

บ้านนาเจริญ เดิมมีชื่อว่า บ้านโคกน้อย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบ้านจำปาดง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมีนายแนน  ทองโชติ เป็นผู้นำคนแรกที่อพยพถิ่นฐานมาจากบ้านจำปาดง โดยเลือกบริเวณพื้นที่ตั้งถิ่นฐานเป็นเนินหรือโคกขนาดเล็ก บริเวณรอบๆ มีความอุดมสมบรูณ์มาก เหมาะที่จะทำนาอย่างยิ่ง จึงตั้งชื่อว่า บ้านนาเจริญ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ มีผู้คนอพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นจำนวนมากจึงแยกออกจาบ้านจำปาดงอย่างเป็นทางการ มีนายคำหมอง ไชยคำแดง เป็นผู้นำคนแรก

วิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน

“สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ เพิ่มรายได้ ใช้จ่ายอย่างประหยัด หัดเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชุมชนอย่างยั่งยืน”

การบริหารจัดการหมู่บ้าน

  • แผนพัฒนา 3 ด้าน
  1. แผนพัฒนาพึ่งตนเอง
  2. แผนพัฒนาความร่วมมือ
  3. แผนพัฒนาการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ

 

บ้านนาเจริญ

อาชีพเสริม

  • ทอผ้าลายสายรุ้ง
  • เลี้ยงปลา, กบ, วัว
  • ปลูกเห็ด
  • ปลูกปอเทือง
  • นวดแผนไทย
  • สวนยางพาราและปาล์ม
  • ไร่อ้อย, ไร่มัน
  • การทำงานที่ต่างประเทศ

งาน อสม.

  • กำจัดลูกน้ำยุงลาย
  • ตรวจหาเบาหวานประชากรในเขตบริการ
  • อนามัยลงชุมชน
  • โครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบทจากวิทยาลัยการเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี
  • อปพร. ตั้งด่านด่วนในช่วงเทศกาลต่าง ๆ

 

การมีส่วนร่วมของประชาชน

การกระจายโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง วัฒนธรรม และการบริหารเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรของชุมชน เช่น

  1. การเลือกตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน
  2. งานประเพณีประจำปีของหมู่บ้าน
  3. ประชุมประจำเดือน
  4. การร่วมกันทำความสะอาดหมู่บ้าน
  5. ร่วมกลุ่มสร้างอาชีพเพื่อหารายได้เข้าชุมชน

การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนก่อให้เกิดความสามามัคคีในชุมชน รวมทั้งส่วผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และแสดงถึงศักยภาพของชุมชน

การสร้างนวัตกรรมของหมู่บ้าน

การสร้างนวัตกรรมในชุมชนเนื่องมาจากแนวคิดในการลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ และนำวัสดุเหลือใช้ในชุมชนกลับมาใช้ใหม่ เช่น

  • การผลิตอาหารสัตว์จากหญ้าเนเปีย และผลิตอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุน
  • สิ่งประดิษฐ์จากยางรถยนต์ เพื่อสร้างรายได้เสริม
  • การผลิตเตาประหยัดพลังงาน

จากนวัตกรรมเหล่านี้จึงทำให้ประชาชนในชุมชนลดต้นทุนค่าอาหารการเลี้ยงสัตว์ ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนได้